วันศุกร์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2560

ข้อมูลทั่วไป







ข้อมูลทั่วไป
ชื่อทางการ เนการาบรูไนดารุสซาลาม
ลักษณะทางภูมิศาสตร์
ที่ตั้ง: ตั้งอยู่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือบนเกาะบอร์เนียว ในทะเลจีนใต้ แบ่งออกเป็น 4 เขต คือ เขต Brunei-Muara เขต Belait เขต Temburong และเขต Tutong
พื้นที่:    5,765 ตารางกิโลเมตร เป็นผืนแผ่นดิน 5270 ตารางกิโลเมตร (พื้นที่ 70% เป็นป่า เขตร้อน) และเป็นผืนน้ำ 500 ตารางกิโลเมตรโดย
ดินแดนอาณาเขต:    รวม 381 กิโลเมตร มีดินแดนอาณาเขตติดกับประเทศมาเลเซียทั้งหมด
เขตชายฝั่ง:    161 กิโลเมตร
เมืองหลวง:   บันดาร์เสรีเบกาวัน (Bandar Seri Begawan)
ภูมิอากาศ:   อากาศโดยทั่วไปค่อนข้างร้อนชื้น มีปริมาณฝนตกค่อนข้างมาก และมี อุณหภูมิอบอุ่น โดยมีอุณหภูมิเฉลี่ย 28 องศาเซลเซียส
ภูมิประเทศ:  พื้นที่ชายฝั่งสูงขึ้นเป็นภูเขาทางทิศตะวันออก และเนินเขาต่ำทางทิศตะวันตก
ทรัพยากรธรรมชาติ:   ปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติ และไม้
ภัยธรรมชาติ:  ไต้ฝุ่น แผ่นดินไหว และอุทกภัย
สิ่งแวดล้อม (ปัญหาปัจจุบัน): ควันจากไฟป่าในอินโดนีเซีย
สิ่งแวดล้อม (ความตกลงระหว่างประเทศ) : เป็นสมาชิกความหลากหลายทางชีวภาพ ความเสื่อมโทรมของพื้นที่ สิ่งมีชีวิตที่ใกล้ สูญพันธ์ การปรับตัวของสิ่งแวดล้อม ขยะอันตราย การปกป้องชั้นบรรยากาศ ภาวะมลพิษจากเรือ
        
ข้อมูลจาก http://www.baanjomyut.com

  







สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม


สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม

1. มัสยิดโอมาร์ อาลี ไซฟัดดิน  (Sultan Omar Ali Saifuddin Mosque)



มัสยิดเก่าแก่ศูนย์รวมจิตใจและเป็นสถานที่สำคัญที่สุดของศาสนาอิสลามในบรูไน ตั้งอยู่กลางกรุงบันดาร์เสรีเบกาวัน  เมืองหลวงและเมืองท่าที่สำคัญของประเทศ เป็นสถาปัตยกรรมที่วิจิตรงดงามเลอค่าจนได้ชื่อว่าเป็นมินิทัชมาฮาล  สุลต่านโอมาร์  อาลี  ไซฟุดดิน  ที่  3  พระราชบิดาของสุลต่านองค์ปัจจุบันเป็นผู้ออกแบบและดูแลการก่อสร้างด้วยพระองค์เอง มัสยิดแห่งนี้มีความสูง  52  เมตรโดมทรงกลมบนหลังคาสร้างจากทองบริสุทธิ์  พื้นด้านในปูด้วยหินอ่อน ภายในสุเหร่าปูพื้นด้วยหินอ่อนจากอิตาลี และพรมที่สั่งทอพิเศษผืนใหญ่มหึมา ความโดดเด่นของมัสยิดโอมาร์ อาลี ไซฟัดดิน คือความสวยสง่าเสมือนเป็นมัสยิดศักดิ์สิทธ์บนเกาะเล็กๆและจะมีทางเดินเชื่อมไปยังเรือที่อยู่กลางน้า ก่อนเข้าชมผู้หญิงจะต้องเปลี่ยนชุด นักท่องเที่ยวจะต้องเก็บสิ่งของไว้ในล็อกเกอร์และห้ามถ่ายรูป

2. พิพิธภัณฑ์รอยัลเรกกาเลีย (Royal Regalia Museum)



พิพิธภัณฑ์รอยัลเรกกาเลีย ตั้งอยู่ใจกลางกรุงบันดาร์ เสรี เบกาวันได้รับการยกย่องว่าเป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีสมบัติล้าค่าและน่าชมที่สุดแห่งหนึ่งของทวีปเอเชีย เป็นสถานที่รวบรวมข้าวของและเครื่องใช้ซึ่งล้วนแล้วแต่หาค่ามิได้ของสุลต่านองค์ปัจจุบัน มีทั้งราชรถทองคำ ฉลองพระองค์ทองคำ เครื่องทรงทองคำ อาวุธทองคำล้วนเป็นทองคำไปทุกสิ่งอย่าง รวมทั้งมีการแสดงพระราชประวัติขององค์สุลต่านและเครื่องราชบรรณาการจากนานาประเทศ ที่มีความวิจิตรงดงามสูงค่าแบบหาดูได้ยาก เช่น คริสตัล หยก งาช้าง และยังมีพระที่นั่งจำลองมาให้ได้ชมกัน ไฮไลท์ของที่นี่ ได้แก่ ห้องเล็ก ๆ ที่จำลองขบวนพาเหรดและการตกแต่งอันสวยงาม เนื่องในวโรกาสครบรอบ 25 ปีที่องค์ สุลต่านขึ้นครองราชย์ โดยที่พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เปิดให้ชมกันฟรีๆ ด้านในห้องที่จัดแสดงห้ามถ่ายรูป นักท่องเที่ยวจะต้องถอดรองเท้าพร้อมเก็บของทุกชิ้นไว้ที่ล็อคเกอร์เก็บของ นอกจากนั้นที่นี่ยังมีร้านขายของที่ระลึกใจดี๊ดีรับเงินบาทไทยด้วยครับ

3. หมู่บ้านกัมปงไอเยอร์ (Kampong Ayer)



หมู่บ้านลอยน้ำที่ใหญ่ที่สุดในโลก  ตั้งอยู่ที่แม่น้ำบรูไน  กรุงบันดาร์เสรีเบกาวัน ชาวยุโรปยุคแรกๆที่เข้ามาบรูไน เรียกหมู่บ้านกลางน้ำแห่งนี้ว่า เวนิชแห่งตะวันออก ในหมู่บ้านแบ่งเป็นหมู่บ้านย่อย ๆ อีกกว่า 42 หมู่บ้าน และมีจำนวนประชากรกว่า 30,000 คน นักท่องเที่ยวจะได้ชมศิลปะการสร้างบ้านเรือนนับพันบนแม่น้ำบรูไนโดยการใช้เสาไม้ค้ำยันเป็นหลักอยู่ด้านล่าง สัมผัสการใช้ชีวิตของชาวบรูไนแบบดั้งเดิม ชมการคมนาคมซึ่งสัญจรกันโดยใช้เรือพายและชิม ของว่างซึ่งเป็นขนมท้องถิ่นและน้ำชาแสนอร่อย ในแต่ละหมู่บ้านนั้นเชื่อมต่อถึงกันหมดด้วยทางเดินที่ทอดยาวกว่าสามสิบกิโลเมตร บริเวณหมู่บ้านมีระบบสาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างครบครันทั้งไฟฟ้า อินเทอร์เน็ต และยังมีโรงเรียน โรงพยาบาล ร้านอาหาร มัสยิด รวมไปถึงสถานีตำรวจอีกด้วย

4. พระราชวัง Istana Nurul Iman (The Istana Nurul Iman palace)


ตั้งอยู่ในกรุงบันดาร์เสรีเบกาวัน ได้รับการยกย่องว่าเป็นพระราชวังที่ใหญ่ที่สุดในโลก ใหญ่กว่าพระราชวังแวร์ซายสี่เท่าและใหญ่กว่าพระราชวังบักกิ้งแฮมสามเท่า พระราชวัง Istana Nurul Iman เอกลักษณ์ทางสถาปัตถยกรรมของบรูไนที่มีความงามโดดเด่นทั้งภายในและภายนอก บนพื้นที่กว่า 19,400 ตารางเมตร  พระราชวังแห่งนี้สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1987 ใช้งบประมาณในการก่อสร้าง 1.4 ล้านดอลลาร์ ภายในพระราชวังถูกตกแต่งอย่างประณีตด้วยวัสดุชั้นเลิศและทองคำแท้ ประกอบไปด้วยห้องต่างๆ 1,788 ห้อง, ห้องน้ำ 257 ห้อง และ 5 สระน้ำ นอกจากนี้ ยังมีห้องจัดเลี้ยงขนาดใหญ่ซึ่งบรรจุได้ถึง 5,000 คน ออกแบบโดยสถาปนิกชาวฟิลิปปินส์ลี Locsin เป็นทั้งทำเนียบรัฐบาลและใช้สำหรับต้อนรับบุคคลสำคัญจากต่างประเทศที่มาเยือน ในโรงรถมีราชรถแบบสุดหรูกว่า 5000 คัน มี Bentleys ทำด้วยทองคำ เฟอร์รารี่และ ROLLS ROYCES ซึ่งสั่งทำพิเศษคันเดียวในโลก นอกจากนั้นยังมีเครื่องบินโบอิ้ง 747-400 มูลค่ากว่า 200 ล้านดอลลาร์ เครื่องบินส่วนพระองค์อีก 6 ลำ พระราชวังแห่งนี้เปิดให้เข้าชมเพียงปีละครั้งหลังเดือนรอมฎอน หรือหลังพิธีถือศีลอดเป็นต้นไป นักท่องเที่ยวห้ามพลาดอย่างเด็ดขาดสำหรับพระราชวังแห่งนี้เพราะ ของเขารวย หรูเวอร์ เลอค่าจริงๆครับ

5. สวนสนุก Jerudong (Jerudong Park)



ตั้งอยู่ในเมือง Jerudong เขตปริมณฑลของกรุงบันดาร์เสรีเบกาวัน เป็นสวนสาธารณะที่ใหญ่ที่สุดและใช้เงินลงทุนสร้างมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สุลต่านองค์ปัจจุบันมีบัญชาให้สร้างขึ้นเพื่อเป็นของขวัญแก่ชาวบรูไนด้วยงบประมาณกว่า 3 พันล้านดอลล่าร์ในเนื้อที่กว่า 100 ไร่ สวนสนุกเเห่งนี้จะเปิดตั้งเเต่ประมาณ 4 pm.ถึงเที่ยงคืน ส่วนค่าผ่านประตูแค่เพียงคนละ 1 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งไม่รวมค่าตั๋วเครื่องเล่นต่างๆ ภายในประกอบไปด้วยสวนน้าขนาดใหญ่ สวนสนุกที่มีเครื่องเล่นทันสมัยมากมาย ทั้งรถไฟเหาะ รถราง รวมทั้งสวนสาธารณะที่ถูกตกแต่งอย่างงดงาม ทะเลสาบขนาดใหญ่ มีน้ำพุดนตรีให้ชมฟรี เป็นแหล่งบันเทิงที่สร้างความสุขให้แก่ทุกคนในครอบครัวได้อย่างครบวงจร นอกจากนั้นยังมีรีสอร์ทระดับห้าดาวไว้ให้นักท่องเที่ยวได้พักผ่อนอีกด้วย

6. หาดตูตง Tutong beach เมืองตูตง



ชายหาดที่มีชื่อเสียงที่สุดในบรูไน หาดทรายที่นี่สวย ขาวสะอาด น้าทะเลสีเขียวมรกตสวยแปลกตา ทั้งยังมีที่พัก แบบรีสอร์ทพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน ชาวบรูไนเรียกชายหาดนี้ว่า ปันไตตูตง  ชายหาดแห่งนี้ด้านหนึ่งติดทะเลจีนใต้อีกด้านหนึ่งติดแม่น้ำตูตง หาดตูตงเป็นชายหาดที่มีทรายขาวสวยที่สุดในบรูไน และมีพระตำหนักที่ประทับของสมาชิกในพระราชวงศ์ที่ก่อสร้างอย่างสวยงามทันสมัยตั้งอยู่ด้วย ส่วนชายหาดยอดนิยมอีกแห่งก็คือ หาดMuara ชายหาดแห่งนี้ตั้งอยู่ห่างจากกรุงบันดาร์ เสรี เบกาวัน เพียง 27 กิโลเมตร มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครันทั้งที่พักสุดโรแมนติค ร้านอาหารทะเลสดอร่อย มีรถให้เช่าขับเที่ยวชายหาดรวมทั้งมีเรือเฟอร์รี่ให้เช่าออกไปชมความงามของท้องทะเลอีกด้วย

7. อุทยานแห่งชาติ Temburong


แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติเชิงอนุรักษ์อันดับหนึ่งของประเทศบรูไนอุดมสมบูรณ์ไปด้วยต้นไม้น้อยใหญ่นานาชนิดเรียกว่าเขียวขจีไปทั้งผืนป่า มีทั้งภูเขาสูง ลำธารน้าใส น้าตกและทะเลสาบ อุทยานแห่งชาติ Temburong มีพื้นที่กว้างใหญ่และยังมีกิจกรรมที่น่าสนใจให้คุณไปสัมผัสอย่างหลากหลาย อาทิเช่น การเดินป่าชมสัตว์ป่าน้อยใหญ่รวมทั้งพันธ์ที่หายากซึ่งมีอยู่มากมาย และภายในอุทยานก็ยังมีชนชาวพื้นเมืองของบรูไนอาศัยอยู่ ซึ่งคุณจะได้สัมผัสและใกล้ชิดวิถีชีวิตแบบแตกต่างของชาวพื้นเมือง รวมทั้งมีกิจกรรมสนุกๆให้คุณได้ใกล้กับธรรมชาติมากยิ่งขึ้น เช่นการล่องแพไปตามแม่น้ำ Temburong  การตกปลา แคมป์ปิ้งกลางป่า แต่ไฮไลท์ที่นักท่องเที่ยวชอบมากที่สุดน่าจะได้แก่การเดินชมผืนป่าและถ่ายรูปบนสะพานไม้รอบอุทยานซึ่งแขวนตัวสูงเลยยอดไม้ บางครั้งไต่ระดับสูงจนได้สัมผัสละอองเมฆกันเลยทีเดียว

8. อนุสาวรีย์ Billionth Barrel Monument



ตั้งอยู่ที่เซอเรีย เมืองศูนย์กลางของกิจการน้ำมันในบรุไน สร้างขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1991  เนื่องจากปีนี้เป็นปีประวัติศาสตร์สำคัญที่บรูไนสามารถผลิตน้ำมันได้สูงถึง 1 พันล้านบาร์เรล    อนุสาวรีย์ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งความมั่งคั่งของประเทศซึ่งเป็นผู้ส่งออกน้ำมันอันดับต้นๆของโลก    เซอเรียเป็นเมืองที่มีการขุดพบบ่อน้ำมันและยังมีการค้นพบแหล่งน้ำมันอีกเรื่อยๆรัฐบาลจึงตั้งสถานีใหญ่ในเมืองเซอเรียขึ้นเพื่อการผลิตน้ำมันชื่อ เชลล์บรูไน (Shell Brunei) และที่นี่ยังเป็นที่ตั้งของทหารที่มาทำหน้าที่อารักขาป้องกันบ่อน้ำมัน รวมทั้งป้องกันชีวิตและทรัพย์สินของชาวต่างชาติที่มาทำงานให้โรงกลั่นน้ำมันที่เมืองนี้ด้วยครับ

9. พิพิธภัณฑ์บรูไน กรุงบันดาร์ เสรี เบกาวัน



สถานที่รวบรวมของสะสมโบราณล้ำค่าขององค์สุลต่านจากประเทศมุสลิมทั่วโลกมาแสดงไว้มากมาย  ภายในพิพิธภัณฑ์จะประกอบไปด้วยหลายโซน ได้แก่ โซนแกลลอรี่ มีรูปภาพประวัติศาสตร์แสดงถึงความเป็นมาของประเทศบรูไนทั้งทางด้านวัฒนธรรมและการค้า ที่โดดเด่นที่สุดคือ Islamic Arts Gallery  ชมคัมภีร์อัลกุรอ่านขนาดเล็กที่สุดในโลก  สัมผัสวัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิมของชาวบรูไน ชมแบบจำลองขบวนการผลิต แท่นขุดเจาะน้ำมันในยุคแรกๆ ชมห้องแสดงสัตว์หายากของเกาะบอร์เนีบว โดยเฉพาะลิงจมูกยาว Probosis Monkey รวมทั้งมีประวัติการค้นพบน้ำมันและก๊าซธรรมชาติจำนวนมหาศาลที่พลิกโฉมบรูไนให้กลายเป็นหนึ่งในประเทศที่มั่งคั่งที่สุดของทวีปเอเชีย

10.  เที่ยวบรูไน Yayasan Sultan Haji Hassanal Bolkiah Complex



ศูนย์การค้าที่ใหญ่ที่สุดในประเทศบรูไน เป็นแหล่งช้อปปิ้งยอดนิยมใจกลางกรุงบันดาร์ เสรี เบกาวัน เป็นศูนย์รวมของฝากของที่ระลึก สินค้าพื้นเมืองของคนท้องถิ่น สินค้าประจำชาติ เสื่อผ้าแพรพรรณ อัญมณี สินค้าแฟชั่นสรุปแล้วมีทุกสิ่งอย่างในราคาที่ไม่แพง เป็นหนึ่งในโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานประเทศขององค์สุลต่าน และในช่วงละหมาดยังมีการเปิดเสียงสวดผ่านเสียงตามสายในห้างให้ได้ฟังอีกด้วย และในบริเวณใกล้ๆกันมีห้างดังอีกหนึ่งห้างนั่นคือห้างกาดัง (gadong) ซึ่งมีสินค้าหลากหลายและมีแหล่งบันเทิงครบครันประกอบไปด้วยร้านอาหาร ร้านค้า โรงภาพยนตร์ ร้านกาแฟ   ท่ามกลางบรรยากาศสบาย ๆ และศูนย์การค้าแห่งนี้ยังมีชั้นใต้ดินซึ่งเชื่อมตึกสองฝั่งเข้าด้วยกัน ทั้งสองห้างดังแห่งนี้นอกจากนักท่องเที่ยวจะได้เพลิดเพลินกับการเดินดูและเลือกซื้อสินค้าแล้วยังจะได้ชมรูปแบบของสถาปัตยกรรมอันงดงามและการตกแต่งห้างอย่างสุดหรูแบบบรูไนสไตล์ได้อีกด้วย
ข้อมูลจาก https://amazingthaisea.com

ธงชาติประเทศบรูไน


ธงชาติประเทศบรูไน Brunei Darussalam 

(บรูไน ดารุสซาลาม)





ความเป็นมาของธงชาติประเทศบรูไน  ดารุสซาลาม 

          ความเป็นมาของธงชาติประเทศบรูไน ดารุสซาลามนั้น   ถือได้ว่าประเทศบรูไน ดารุสซาลามเริ่มมีธงชาติเป็นของตนเองและถูกนำมาใช้อย่างเป็นทางการในวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2502   แต่ประเทศบรูไน ดารุสซาลามกลับได้รับเอกราชอย่างเป็นทางการในภายหลัง เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2527 และประกาศตนภายใต้ชื่อประเทศ บรูไน ดารุสซาลาม”   แต่เนื่องจากประเทศบรูไนดารุสซาลามนั้นจะมีธงประจำพระองค์ของสุลต่าน  โดยธงผืนนั้นจะมีพื้นสีเหลือง  ด้วยเหตุนี้ทำให้ประเทศบรูไนดารุสซาลาม  มีธงชาติสีเหลืองที่แสดงและสื่อถึง พระมหากษัตริย์ของประเทศบรูไนดารุสซาลาม   แต่เวลาต่อมาในปี พ.ศ. 2499 ประเทศบรูไนดารุสซาลามต้องการทำให้ธงชาติมีความแตกต่างอย่างชัดเจนขึ้นจากธงอื่น ๆ ภายในประเทศหรือแม้กระทั่งต่างประเทศ  ที่ใช้ธงสีเหลืองเหมือนกัน  ด้วยที่ธงชาติของประเทศบรูไนนั้น  จะมีการเพิ่มแถบสีคาด คือ สีขาวและสีดำ สองสีลงบนตัวธงชาติ   แต่การแก้ไขรูปแบบของธงชาติสำหรับประเทศบรูไนดารุสซาลาม  ก็ยังคงไม่สิ้นสุดที่จะมีการเปลี่ยนแปลงเพียงเท่านี้   เพราะในปีพ.ศ. 2509  ประเทศบรูไนดารุสซาลามก็ยังคงมีการเปลี่ยนแปลง  โดยการเพิ่มเติมรูปตราแผ่นดินของประเทศบรูไนลงบนกลางธงชาติอย่างเด่นชัดอีกครั้ง จนทำให้ธงชาติของประเทศบรูไนดารุสซาลามมีลักษณะเหมือนในปัจจุบันนี้  และยังคงถูกใช้ในรูปแบบนี้ตลอดมา

ลักษณะและความหมายของธงชาติประเทศบรูไน ดารุสซาลาม  (Brunei  Darussalam)
สำหรับลักษณะของธงชาติประเทศบรูไน  ดารุสซาลามนั้น   พื้นผิวของธงจะประกอบไปด้วย สีเหลือง เป็นหลัก โดยมีแถบสีขาว และสีดำ พาดตามแนวทแยงมุม  แถบสีขาวนั้นจะ อยู่ด้านบน และแถบสีดำจะอยู่ด้านล่าง ซึ่งแถบสีขาวและแถบสีดำนี้  ทั้งสองสีจะพาดจากด้านคันธงจรดไปจนถึงปลายธงทั้งสองด้าน   ส่วนบริเวณตรงกลางของธง  จะมีตราแผ่นดินของประเทศบรูไน ดารุสซาลามอย่างเด่นชัด    ทีนี้เราจะมาดูสีต่าง ๆ บนธงซึ่งจะแยกความหมายออกมาเป็นดังนี้
สีเหลือง   ซึ่งเป็นส่วนที่มีมากที่สุดบนตัวธง   หมายถึง พระมหากษัตริย์ของประเทศบรูไน ดารุสซาลาม
สีขาว และสีดำที่พาดทแยงมุมบนตัวธง  หมายถึง มุขมนตรีหรือรัฐมนตรีภายในประเทศ
ตราสัญลักษณ์แผ่นดินของประเทศบรูไน  ซึ่งประทับตราตรงกลางธงชาติ หมายถึง ความมีสันติภาพ ความเจริญรุ่งเรือง และสัญลักษณ์ของศาสนาอิสลามภายในประเทศบรูไน  ดารุสซาลาม
         ข้อมูลจาก http://www.thai-aec.com

ดอกไม้ประจำชาติบรูไน


ดอกไม้ประจำชาติบรูไน

ดอกซิมปอร์ ดอกไม้ประจำชาติบรูไน
ชื่อพื้นเมือง          ดอกส้านชะวา
ลักษณะทั่วไป        -
ใบ                     -   
ดอก                  ที่มีกลีบขนาดใหญ่สีเหลือง หากบานเต็มที่แล้วกลีบดอกจะมีลักษณะคล้ายร่ม
 ผล                  -

 ด้านภูมิทัศน์      พบเห็นได้ตามแม่น้ำทั่วไปของบรูไน
         ข้อมูลจาก https://sites.google.com

ชุดประจำชาติบรูไน


ชุดประจำชาติบรูไน

ชุดประจำชาติของบรูไนคล้ายกับชุดประจำชาติของผู้ชายประเทศมาเลเซีย เรียกว่า บาจู มลายู  ส่วนชุดของผู้หญิงเรียกว่า บาจูกุรุง (Baju Kurung) แต่ผู้หญิงบรูไนจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่มีสีสันสดใสโดยมากมักจะเป็นเสื้อผ้าที่คลุมร่างกาย   ตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า ส่วนผู้ชายจะแต่งกายด้วยเสื้อแขนยาว ตัวเสื้อยาวถึงเข่า นุ่งกางเกง  ขายาวแล้วนุ่งโสร่ง เป็นการสะท้อนวัฒนธรรมสังคม  แบบอนุรักษ์นิยมเพราะบรูไนเป็นประเทศมุสสิม จึงต้องแต่งกายมิดชิดและสุภาพเรียบร้อย
บาจู มลายู และบาจูกุรุง – ประเทศบรูไน



ข้อมูลจาก  https://sites.google.com

อาหารประจำชาติประเทศบรูไน


อาหารประจำชาติประเทศบรูไน

          อัมบูยัต (เป็นอาหารยอดนิยมของบรูไนมีลักษณะเด่นอยู่ที่ตัวแป้งจะเหนียวข้นคล้ายข้าวต้ม หรือโจ๊กโดยมีแป้งสาคูเป็นส่วนผสมหลัก ตัวแป้งอัมบูยัตเอง ไม่มีรสชาติแต่ความอร่อยจะอยู่ที่การจิ้มกับซอสผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวนอกจากนี้ยังมีเครื่องเคียงอีก 2-3 ชนิด เช่น ผักสด เนื้อห่อใบตองย่างหรือเนื้อทอด  ทั้งนี้ การรับประทานอัมบูยัตให้ได้รสชาติ ต้องรับประทานตอนร้อน ๆจึงจะดีที่สุด
ส่วนผสม
-แป้งสาคู         -น้ำร้อนต้มสด      -น้ำ

ส่วนผสม ปลาทอด
-ปลาสีขาว        -หอมแดง       -กระเทียม       -ขมิ้นสดโขลกหยาบ
-ขิงกรัม           -พริกตา         -ตะไคร้บด       -มะขามแห้ง
-น้ำ (2 . ถ้วย)

ส่วนผสมเครื่องเคียง
-หน่อPakuทำความสะอาดและดึง      -เกลือ                   -น้ำมันพืช
-หอมแดง                                  -กระเทียมโขลก         -กุ้ง             -น้ำ
-พริกแดง (หั่น) สำหรับการตกแต่ง

วิธีทำแป้ง
 ผสมน้ำร้อนกับแป้งสาคู 4 ถ้วยน้ำนาน 10 นาทีแล้วจึงเทน้ำส่วนเกินทิ้ง
วิธีทำปลา
ทำความสะอาดปลาและหั่นเป็นชิ้น นำส่วนผสมอื่นๆผัดเข้าด้วยกันและนำปลามาคลุกเคล้าจนสุก
วิธีทำเครื่องเคียง
ผัดส่วนผสมที่โขลกอย่างดีในน้ำมันที่ร้อนจนหอมเพิ่มเกลือน้ำตกแต่งด้วยพริกแดง

อัมบูยัต

ข้อมูลจาก https://sites.google.com

นโยบายเศรษฐกิจ


นโยบายเศรษฐกิจ

ปัจจุบัน รัฐบาลกำลังพยายามพัฒนาภาคเศรษฐกิจอื่นเพื่อเปลี่ยนแปลงจากเศรษฐกิจที่พึ่งพาน้ำมันและก๊าซเป็นหลักไปสู่โครงสร้างทางเศรษฐกิจที่มีความหลากหลายมากขึ้น เนื่องจากมีการคาดการณ์ว่า ปริมาณน้ำมันสำรองที่ยืนยันแล้ว (proven reserve) ของบรูไนจะหมดลงในราวปี 2558 ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยในเอเชียตั้งแต่ปี 2543 ทำให้บรูไนเร่งปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจ และใช้มาตรการต่างๆเพื่อสร้างความหลากหลายทางเศรษฐกิจ ได้แก่

1. จัดตั้งสภาที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจ นำโดยเจ้าชายโมฮาเหม็ด โบลเกียห์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ โดยมีแนวทางในการส่งเสริมให้ภาคเอกชนมีบทบาทมากขึ้นในการพัฒนาเศรษฐกิจ
2. ปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ จากเดิมที่เน้นนโยบายการให้สวัสดิการ มาเป็นการส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศและการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ โดยให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น และมีการขยายฐานการจัดเก็บภาษี
3.ปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์การลงทุนในต่างประเทศของ BIA โดยหันมาลงทุนในธุรกิจด้านใหม่ๆที่มีความเสี่ยงต่ำ เช่น การซื้อหุ้นในกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศและโทรคมนาคม หรือธุรกิจสายการบิน
4. ตามแผนพัฒนาประเทศฉบับที่ 8 (The Eighth National Development Plan: 8th NDP) ซึ่งดำเนินการระหว่างปี 2544-2548 รัฐบาลบรูไนได้ตั้งเป้าหมายอัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ที่ 5-6% โดยเน้นการสร้างสมดุลของงบประมาณให้ดีขึ้น และกำหนดมาตรการในการพัฒนาและฟื้นฟูเศรษฐกิจแบบยั่งยืน สร้างการขยายตัวและความเข้มแข็งให้กับอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซ รวมทั้งการพัฒนาอุตสาหกรรมต่อเนื่องต่างๆ พัฒนาเศรษฐกิจและสังคม และทรัพยากรมนุษย์ รวมทั้งอุตสาหกรรมขนาดกลางและเล็ก ขยายความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน แปรรูปรัฐวิสาหกิจบางกิจการ และสร้างความแข็งแกร่งในระบบการเงินและการคลัง นอกจากนี้ ยังยึดแนวคิดของระบบธรรมาภิบาล (Good Governance) และมุ่งเน้นการเสริมสร้างความแข็งแกร่งของภาคเอกชน
5. ส่งเสริมการลงทุนร่วมกับต่างชาติ สนับสนุนการเปิดเสรีการค้า และสร้างบรรยากาศการลงทุนที่เอื้ออำนวยความสะดวกต่อนักลงทุนทั้งภายในและต่างประเทศ
6. พัฒนาประเทศให้เป็นศูนย์กลางการค้าและการท่องเที่ยว (Service Hub for Trade and Tourism – SHuTT 2003 Vision) และตั้งเป้าหมายในการเป็นศูนย์กลางการขนถ่ายสินค้าที่สำคัญในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นเป้าหมายหนึ่งในโครงการความร่วมมือของกลุ่ม Brunei Indonesia Malaysia Philippines – East ASEAN Growth Area (BIMP-EAGA)

7. สร้างความเข้มแข็งของระบบการเงิน เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศและเอื้ออำนวยต่อโครงการพัฒนาเศรษฐกิจและสาธารณูปโภคพื้นฐาน และกำหนดแผนพัฒนาประเทศให้เป็นศูนย์กลางด้านการเงินระหว่างประเทศ (Brunei International Financial Center: BIFC) เพื่อพัฒนาการให้บริการทางการเงินระหว่างประเทศ กระจายความหลากหลายทางเศรษฐกิจ และสร้างโอกาสในการทำงานให้กับประชาชน
        ข้อมูลจาก http://www.baanjomyut.com

การเมืองการปกครอง








การเมืองการปกครอง

รัฐธรรมนูญปัจจุบันซึ่งแก้ไขล่าสุดเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2527 กำหนดให้สุลต่านทรงเป็นอธิปัตย์ คือ เป็นทั้งประมุขของประเทศ นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีจะต้องเป็นชาวบรูไนมีเชื้อสายมาเลย์โดยกำเนิด และจะต้องเป็นมุสลิมนิกายสุหนี่
นโยบายหลักของประเทศ ได้แก่ การสร้างความเป็นปึกแผ่นภายในชาติ และดำรงความเป็นอิสระของประเทศ บรูไนมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับสิงคโปร์ แม้ว่าจะถูกโอบล้อมโดยมาเลเซียและอินโดนีเซียซึ่งเป็นประเทศมุสลิมขนาดใหญ่ทางตอนใต้ เนื่องจากมีสถานะที่คล้ายคลึงกันกับสิงคโปร์หลายประการ เช่น การเป็นประเทศขนาดเล็ก และมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศมุสลิมขนาดใหญ่

นับจากการพยายามยึดอำนาจเมื่อปี 2505 รัฐบาลได้ประกาศกฎอัยการศึก ยังผลให้ไม่มีการเลือกตั้ง รวมทั้งบทบาทพรรคการเมืองได้ถูกจำกัดลงอย่างมาก จนปัจจุบัน พรรคการเมือง Parti Perpaduan Kebangsaan Brunei (PPKB) และ Parti Kesedaran Rakyat (PAKAR) ไม่มีบทบาททางการเมืองมากนัก เนื่องจากถูกรัฐบาลควบคุมด้วยมาตรการต่างๆ เช่น กฎหมาย Internal Security Act (ISA) ซึ่งห้ามชุมนุนทางการเมือง และอาจถูกถอดถอนจากการจดทะเบียนเป็นพรรคการเมืองได้ ตลอดจนห้ามข้าราชการ ซึ่งมีจำนวนกว่าครึ่งของประชากรทั้งหมด เป็นสมาชิกพรรคการเมือง นอกจากนี้ รัฐบาลยังเห็นว่า ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมีพรรคการเมือง เนื่องจากประชาชนสามารถแสดงความคิดเห็นหรือขอความช่วยเหลือจากข้าราชการของสุลต่านได้อยู่แล้ว
ข้อมูลจาก http://www.baanjomyut.com

การเมืองและสังคม:


การเมืองและสังคม

บรูไนรุ่งเรืองและเป็นที่รู้จักมากขึ้นในคริสตศตวรรษที่ 15 และ 16 เมื่อได้ครอบครองพื้นที่ส่วนใหญ่ของเกาะบอร์เนียวและส่วนหนึ่งของหมู่เกาะซูลู (Sulu) มีชื่อเสียงทางการค้า สินค้าส่งออกที่สำคัญในสมัยนั้น ได้แก่ การบูร พริกไทย และทองคำ หลังจากคริสตศตวรรษที่ 15 บรูไนเริ่มเสื่อมอำนาจลง ในขณะที่สเปนและดัชท์ได้แผ่อำนาจเข้ามาจนทำให้บรูไนต้องเสียดินแดนและเสื่อมลงมากจนถึงสมัยคริสตศตวรรษที่ 19
ในปี 2431 (ค.ศ. 1888) บรูไนได้ยินยอมอยู่ภายใต้อารักขาของอังกฤษ เนื่องจากความกังวลว่าจะต้องเสียดินแดนต่อไปอีก ต่อมา ในปี 2449 (ค.ศ. 1906) บรูไนได้ลงนามในสนธิสัญญากับอังกฤษ ยินยอมอยู่ภายใต้อารักขาของอังกฤษอย่างเต็มรูปแบบ
ในปี 2472 (ค.ศ. 1929) บรูไนสำรวจพบน้ำมันและก๊าซธรรมชาติที่เมือง Seria ทำให้บรูไนมีฐานะมั่งคั่งขึ้นในเวลาต่อมา ในปี 2505 (ค.ศ. 1962) บรูไนได้จัดการเลือกตั้ง โดยพรรคประชาชนบอร์เนียว (Borneo People’s Party) ได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้น แต่ถูกกีดกันไม่ให้จัดตั้งรัฐบาล และได้มีความพยายามที่จะยึดอำนาจจากสุลต่านในเวลาต่อมา แต่สุลต่านทรงได้รับความช่วยเหลือจากกองทหารกูรข่าของอังกฤษที่ส่งตรงมาจากสิงคโปร์ หลังจากนั้น บรูไนมีการประกาศภาวะฉุกเฉินโดยต่ออายุทุกๆ 2 ปี เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน หลังจากอยู่ภายใต้อารักขาของอังกฤษมานานถึง 95 ปี บรูไนได้รับเอกราช เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2527 (ค.ศ. 1984)
ข้อมูลจาก http://www.baanjomyut.com


ข้อมูลเศรษฐกิจ


ข้อมูลเศรษฐกิจ






ระบบเศรษฐกิจของบรูไนเป็นแบบตลาดเสรี ภายใต้การดูแลของรัฐ รายได้หลักของประเทศมาจากน้ำมัน ประมาณ 48% และก๊าซธรรมชาติ ประมาณ 43% นับเป็นประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่อันดับ 4 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากอินโดนีเซีย เวียดนาม และมาเลเซีย คือประมาณ 2 แสนบาร์เรลต่อวัน และผลิตก๊าซธรรมชาติได้มากเป็นอันดับ 4 ของโลก คือประมาณ 1.2 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน โดยมีบริษัทปิโตรเลียมแห่งชาติ (Brunei National Petroleum Company Sedirian Berhad หรือ Petroleum Brunei) ซึ่งจัดตั้งเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2544 เป็นหน่วยงานกำหนดนโยบายน้ำมันและก๊าซ โดยมุ่งเน้นสร้างความมั่งคั่งด้วยการนำรายได้จากน้ำมันไปลงทุนในต่างประเทศ หรือร่วมทุนกับต่างประเทศ โดยดำเนินการผ่าน Brunei Investment Agency (BIA) ในรูปการถือหุ้นหรือซื้อพันธบัตรในยุโรป สหรัฐฯ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และเวียดนาม โดยส่วนใหญ่อาศัยผู้เชี่ยวชาญจากสิงคโปร์เป็นผู้ให้คำปรึกษา
เนื่องจากสินค้าส่งออกหลักของบรูไน คือ น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ (ส่งออกถึงร้อยละ 90 ของการส่งออกทั้งหมด) ทำให้บรูไนมีดุลการค้าเกินดุลมาโดยตลอด สินค้าส่วนใหญ่ส่งออกไปยังญี่ปุ่น อังกฤษ ไทย สิงคโปร์ ไต้หวัน สหรัฐ ฟิลิปปินส์ และสาธารณรัฐเกาหลี ตามลำดับ ในขณะที่สินค้านำเข้าส่วนใหญ่มาจากสิงคโปร์ อังกฤษ สหรัฐฯ และมาเลเซีย โดยเป็นสินค้าประเภทเครื่องจักรอุตสาหกรรม รถยนต์ เครื่องมือ เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ และสินค้าเกษตร เช่น ข้าวและผลไม้

บรูไนมีอุตสาหกรรมอื่นนอกเหนือจากน้ำมันและก๊าซธรรมชาติอยู่บ้าง ได้แก่ การผลิตอาหาร เครื่องมือ และเสื้อผ้า เพื่อส่งออกไปยังประเทศในยุโรปและอเมริกา ทั้งนี้ รัฐบาลบรูไนมุ่งที่จะพัฒนาอุตสาหกรรมการแปรรูปอาหารและผลิตเครื่องดื่ม เสื้อผ้าและสิ่งทอ เฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากไม้ วัสดุก่อสร้างที่ไม่ใช่โลหะ กระจกรถยนต์ เป็นต้น แต่ยังคงประสบอุปสรรคด้านการขาดแคลนแรงงาน โดยเฉพาะช่างฝีมือ ซึ่งต้องอาศัยแรงงานจากต่างประเทศเป็นหลัก และตลาดภายในประเทศที่มีขนาดเล็ก
ข้อมูลจาก http://www.baanjomyut.com

รัฐบาล


รัฐบาล



รูปแบบการปกครอง:      สมบูรณาญาสิทธิราช
เขตการปกครอง: แบ่งเป็น 4 เขต คือ Brunei-Muara, Belait, Temburong, Tutong
รัฐธรรมนูญ: 29 กันยายน 2502 (แก้ไขล่าสุดเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2527)
ระบบกฎหมาย: ใช้หลักกฎหมายอังกฤษ สำหรับชาวมุสลิม ใช้ Islamic Shari'a law แทน กฎหมายแพ่งในหลายสาขา
ฝ่ายบริหาร: ประมุขของรัฐ สมเด็จพระราชาธิบดีฮัจญี ฮัสซานัล โบลเกียห์ มูอิซ ซัดดิน วัดเดาละห์ (His Majesty Paduka Seri Baginda Sultan Haji Hassanal Bolkiahu’izzaddin Waddaulah) ทรงเป็นประมุขของประเทศ ตั้งแต่วันที่ 5 ตุลาคม 2510
หัวหน้ารัฐบาล สมเด็จพระราชาธิบดีทรงดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
คณะรัฐมนตรี แต่งตั้งและเป็นประธานโดยสมเด็จพระราชาธิบดี
การเลือกตั้ง ไม่มี สมเด็จพระราชาธิบดีสืบทอดตามตระกูล
        ข้อมูลจาก http://www.baanjomyut.com

ประชากร


ประชากร




ประชากร: 374,577 คน (ประมาณการ ปี 2550)
โครงสร้างอายุ: 0-14 ปี : 27.8% (เพศชาย 53,512 เพศหญิง 50,529) 15-64 ปี : 69 % (เพศชาย 130,134 เพศหญิง 128,488) 65 ปี และสูงกว่า : 3.1% (เพศชาย 5,688 เพศหญิง 6,226)
อัตราการเติบโตของประชากร: 1.81% ต่อปี (ประมาณการ ปี 2550)
สัญชาติ: ชาวบรูไน (Bruneian)
กลุ่มชนพื้นเมือง: มาเลย์ 67% จีน 15% ชาวพื้นเมือง 6% อื่นๆ 12% 
ศาสนา: ศาสนาประจำชาติ คือ อิสลาม 67% และศาสนาอื่น ได้แก่ พุทธ 13% คริสต์ 10% และอื่นๆ 10%
ภาษา:   ภาษามาเลย์ (Malay หรือ Bahasa Melayu) เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็น ภาษาอังกฤษ และจีน

การศึกษา:        92.7% ของประชากรทั้งหมดอ่านออกเขียนได้
        ข้อมูลจาก http://www.baanjomyut.com